.......................เริ่มเรียนขิมตอนเป็นผู้ใหญ่ จะเล่นได้หรือ?.................
โดย ครูเก่ง สุรีรัตนา ศรีรัตนฆร
มีหลายคนที่มาเริ่มเรียนขิม ตอนเป็นผู้ใหญ่ ตั้งคำถามแรกว่า
- เริ่มเรียนขิมตอนเป็นผู้ใหญ่จะเล่นได้หรือ?
- อายุเยอะแล้วจะเรียนได้ไหม?
- คนอื่นที่เป็นผู้ใหญ่ที่มาเรียนเค้าเล่นได้หรือเปล่า?
- ไม่เคยมีพื้นฐานดนตรีหรือไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อนเลย จะสามารถเล่นได้ไหม?
คำถามเหล่านี้ จะปรากฎขึ้นกับผู้ใหญ่ที่ตัดสินใจมาเรียนขิม มีหลายช่วงอายุด้วยกัน เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีไปจนถึง 83 ปี
(เป็นอายุจริงที่มาเรียนขิมกับครูเก่ง) และคำตอบที่ทุกคนได้รับจากครูเก่ง คือ เล่นได้ค่ะ อายุเท่าไหร่ก็เล่นได้
ปณิธานของบ้านเก่งขิม คือ ขอให้มีใจอยากเรียนเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรายังกระตือรือร้นที่จะไขว่คว้าความรู้นั้นๆ
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคนว่า อยากเรียนสิ่งนั้นเพื่ออะไร
วัตถุประสงค์หลักของการเรียนดนตรีของผู้ใหญ่ส่วนมากจะมีดังนี้
1. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
2. เพื่อผ่อนคลายความเครียด ความกังวลต่างๆ เนื่องจากเสียงดนตรีจะไปกระตุ้นให้ประสาทส่วนของการได้ยินมีการทำงานเพิ่มขึ้น
และเมื่อเราได้ยินเสียงดนตรี โดยเฉพาะได้ยินเสียงดนตรีจากการเล่นดนตรีของเราเอง เราก็จะมีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย ในเวลาที่เราตั้งใจ
เล่นดนตรี จะเป็นการดึงสมาธิของเราออกมาจากความเครียด ความกังวลทั้งหลายทั้งปวงชั่วขณะหนึ่ง และชั่วขณะนั้นเอง ร่างกายก็หลั่ง
สารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอ็นโอฟิน (Endophin) ออกมา ทำให้เรามีความสุข ดังนั้นหลังจากที่เราเล่นดนตรี เราจึงมีความสุข และ
ความเครียดหรือความกังวลต่างๆ ก็จะผ่อนคลายลง บรรเทาเบาบางลงได้
3. เพื่อเอาไว้เล่นแก้เหงา การเล่นดนตรี ต้องมี 2 สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้เล่น และ เครื่องดนตรี ดังนั้นหากเราไม่มีเพื่อน อยู่คนเดียว เหงา
เมื่อเราเล่นดนตรี ดนตรีก็จะเป็นเพื่อนที่ดีมากของเรา
4. เพื่อฝึกสมาธิ เพราะการเล่นดนตรี จะเป็นการดึงสมาธิทั้งหมดในจิตใจ ให้มาจดจ่ออยู่ที่การบรรเลง หากวอกแวกก็จะไม่สามารถเล่น
ได้ถูกต้องตามทำนอง จังหวะ และอาจจะเล่นไม่จบเพลง การเล่นดนตรีจึงเปรียบเสมือนกันนั่งสมาธิ แต่ต่างกันตรงที่เมื่อเราเล่นดนตรี
เรามีความสุขจากการได้ยินเสียงดนตรีที่เราเล่นออกมา การที่เราสามารถเล่นดนตรีออกมาเป็นเพลงต่างๆ ทำให้เรารู้สึกภูมิใจว่าเราทำได้
เราได้เล่นเพลงที่เราชอบ เล่นเพลงที่มีท่วงทำนองไพเราะ เราจึงมีความสุขเมื่อเราได้เล่นดนตรี และเราจะมีสมาธิแน่วแน่กับการเล่นดนตรี
เพื่อให้เพลงที่เราเล่นถูกต้องและไพเราะที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้
5. เพื่อทำให้เป็นคนใจเย็นลง การเล่นดนตรีจะต้องเล่นตามท่วงทำนองและจังหวะที่เพลงนั้นๆ บังคับไว้ ดังนั้น เราจะเล่นตามใจเราไม่ได้
โดยเฉพาะท่วงทำนองของดนตรีไทยจะค่อนข้างช้า ไปเรื่อยๆ การเล่นดนตรีบ่อยๆ จึงเป็นการฝึกอารมณ์ ทำให้ปรับอารมณ์ภายในของเราให้
เย็นลง อารมณ์นิ่งขึ้น สุขุมขึ้น อันจะส่งผลไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันที่จะลดภาวะอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวง่าย หรืออาการขี้โมโห ฯลฯ
6. เพื่อสานฝันในตอนเด็กให้เป็นจริง กล่าวคือ ตอนเด็กอยากเรียนแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน พอโตขึ้นก็อยากทำให้สิ่งที่เคยหวังให้สำเร็จใน
ปัจจุบัน
หากผู้ใหญ่มาเริ่มเรียนดนตรี(ขิม) ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น ครูเก่งก็รับรองได้ 100% เลยว่าทุกคนจะสามารถเล่นดนตรีได้ แม้ว่า
จะไม่มีพื้นฐานด้านดนตรีหรือไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อนเลยในชีวิต แต่หากมีวัตถุประสงค์ที่มากขึ้นไปกว่านี้ ได้แก่ เพื่อฝึกให้เป็นนักดนตรี
มืออาชีพ เพื่อฝึกเป็นครูดนตรีเพื่อไปสอนคนอื่น แม้ว่าจะมีพื้นฐานดนตรีมาก่อน ก็ค่อนข้างยากที่จะสามารถเล่นได้ในระดับนั้น แต่ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับการฝึกซ้อมและความมุ่งมั่นของผู้เรียนแต่ละคน หากผู้เรียนหมั่นฝึกฝนและมุ่งมั่นตั้งใจ ก็สามารถทำได้ถึงจุดที่ตนต้องการได้เช่น
เดียวกัน
(กรุณาอ่านรายละเอียดต่อ ในหัวข้อ "การเรียนดนตรีของเด็กกับผู้ใหญ่แตกต่างกันอย่างไร?" ที่หน้าแรกของ http://www.baankengkhim.com